เลือกภาษา    
ติดต่อสอบถาม 074-801900
233 ซอย 8 ถนนแสงศรี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
เวลาเปิดบริการ
เปิดบริการทุกวัน 24 ชั่วโมง

CPR รู้ไว้ คนที่คุณต้องช่วยอาจเป็นคนใกล้ตัว

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ ในหลายภูมิภาคทั่วโลก  การช่วยชีวิตผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน(BLS) เป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยดังกล่าว  บุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งบุคคลทั่วไป ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ รวมถึงการตรวจประเมินผู้ป่วย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

American Heart Association (AHA) ซึ่งได้เปลี่ยนแนวทางการช่วยชีวิตใหม่ในปีค.ศ. 2010  จากที่เคยทำไว้เมื่อปี 2005  โดยขั้นตอนในการช่วยเหลือที่เสนอแนะโดยมี 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. วินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นให้เร็ว และตามทีมช่วยชีวิตให้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว  
  2. เริ่มทำการช่วยชีวิตโดยการนวดหัวใจ (chest compression)
  3. ทำการช็อคไฟฟ้า (defibrillation)ตามข้อบ่งชี้อย่างรวดเร็ว
  4. ทำการช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหลังจากหัวใจหยุดเต้นอย่างเหมาะสม

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ครอบคลุมขั้นตอน 1-3 การปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ในการช่วยผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลและคลื่นหัวใจเป็นแบบ Ventricular fibrillation  จะเพิ่มอัตรารอดขึ้นมาเกือบ 50%

การกดหน้าอก  (chest compression) เป็นขั้นตอนสำคัญของ BLS ผู้ป่วยcardiac arrest ทุกรายต้องได้รับการกดหน้าอก ที่ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ การกดในลักษณะที่จะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดโดยการเพิ่มความดันในช่องอก และการกดลงบริเวณหัวใจโดยตรง  มีดังนี้

  • ออกแรงกดเป็นจังหวะบริเวณบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (lower half of the sternum)
  • ต้องกดแรงและเร็ว (push hard and push fast)
  • อัตราการกดต้องไม่น้อยกว่า 100  ครั้งต่อนาที
  • กดให้ลึกอย่างน้อย 2นิ้ว หรือ  5 เซนติเมตร
  • ต้องผ่อนแรงหลังการกด ให้ทรวงอกคลายตัวได้อย่างเต็มที่เพื่อรอรับการกดในครั้งต่อไป
  • ต้องระวังต้องไม่ให้มีการหยุดกดหน้าอกบ่อยๆ หรือหยุดกดเป็นเวลานานๆ
  • อัตราส่วนของการกดต่อการช่วยหายใจคือ  30 : 2

การช่วยชีวิตผู้ป่วยในเวลาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นั้นสามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยและการช่วยชีวิตพื้นฐานนั้นก็ต้องทำต่อเนื่องจนกระทั่งทีมช่วยเหลือขั้นสูงมาถึง

และเรามี vdo เล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้ท่านเข้าใจในการทำ cpr มากขึ้นค่ะ

vdo การทำ cpr แบบสั้นๆ เข้าใจง่าย จบภายใน 2 นาที

 

การใช้เครื่อง AED (กรณีที่มี จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นเกือบ 50%)

 

vdo เหตุการณ์ช่วยเด็กจมน้ำที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว แต่สามารถฟื้นกลับมารู้สึกตัวได้ด้วยการปั๊มหัวใจ

แหล่งข้อมูล: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
clip VDO จาก Youtube Channel:
อัพเดตข่าวข้น
Chulalongkorn University, Center of University Risk Management
We Mahidol

 

 

18 ก.ย. 2561      4,526
แชร์บทความ:  
  

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ